computer - Google Blog Search

AdSense for search

computer - Twitter Search

25.2.52

Jumper

จั้มเปอร์(Jumper)
เชื่อหรือไม่? เพิ่มศักยภาพให้คอมพ์ได้ง่าย ๆ ผ่าน Jumper Dip Switch สะพานไฟแห่งชีวิตคอมพ์ของคุณ สิ่งที่หลายคนกลัวนักหนากำลังจะถูกเปิดเผย ความจริง...

วันเวลาผ่านไปเทคโนโลยีก้าวหน้าไปเรื่อย ๆ ทุกวันนี้คงปฏิเสธไม่ได้ว่าคอมพิวเตอร์มีบทบาทในชีวิตประจำวันของเราเป็นอย่างมาก หลายคนเลือกที่ซื้ออุปกรณ์ คอมพิวเตอร์มาประกอบเอง หรือให้ทางร้านประกอบให้ แทนที่จะซื้อจากบริษัทขายคอมพิวเตอร์ Brandname ปัญหาที่ตามมาคือเราจะประกอบอุปกรณ์แต่ละชิ้นเข้าไป ได้อย่างไร? หรือในกรณีที่ร้านค้าประกอบให้เรา เคยคิดบ้างไหมว่าร้านค้านั้นประกอบให้เราถูกต้องหรือเปล่า ? ประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เราแล้วสามารถดึง ประสิทธิภาพออกมาเต็มที่หรือเปล่า ? บ่อยครั้งที่ผมเองก็พบว่าช่างที่ร้านติดตั้งตัว Jumper บนเมนบอร์ดผิด สับ Dip Switch ผิด อันจะเกิดจากช่างไม่มีประสบการณ์ หรือหลงลืมไปชั่วขณะก็ไม่อาจทราบได้ แต่สุดท้ายก็ผิดไปแล้ว

Jumper & Dip Switch อุปกรณ์น่าสะพรึงกลัว
ผมเชื่อได้เลยว่าเพื่อน ๆ หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า Jumper, Dip Switch มาบ้างแล้ว แต่อาจจะยังไม่เข้าใจว่า เซ็ตอย่างไร หรืออาจจะไม่กล้าไปยุ่งกับมัน อันที่จริงสิ่งเหล่านี้ไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัวเลย และจำเป็นมาก ๆ ที่เราจะต้องรู้ไว้บ้าง พวก Jumper, Dip Switch ต่าง ๆ เหล่านี้จริง ๆ มีหน้าที่สำหรับกำหนดการทำงาน ของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ให้ทำหน้าที่ต่างกันออกไป จะเห็นตัวอย่างหน้าที่ชัดเจนก็บน เมนบอร์ดรุ่นหนึ่งเราสามารถเลือกได้ว่าจะให้มี FSB (Font Side Bus) ความเร็วเท่าไร 66,100,133 MHz จะให้ตัวคูณ (Multiple) ของ CPU เท่าไร ? เพื่อให้เมนบอร์ด รุ่นนั้น ๆ สามารถรองรับการทำงานของ CPU ได้มากที่สุด แล้วก็เป็นหน้าที่ของช่าง หรือเราเองที่จะต้องมานั่งเซ็ตให้ตรงกัน นี่เป็นเพียงตัวอย่างเล็ก ๆ น้อย ๆ เท่านั้น ในวันนี้เราจะมาคุยกันเรื่องที่เกี่ยวกับพวก Jumper ต่าง ๆ ที่อยู่บน เมนบอร์ด, Hard Drive , CD-ROM Drive กันว่าสามารถเซ็ตอะไรได้บ้าง

Jumper บน เมนบอร์ด
เมนบอร์ดถือว่าเป็นส่วนที่มี Jumper ให้เซ็ตติดตั้งอยู่มากพอสมควร เมนบอร์ดรุ่นใหม่ ๆ พยายามจะลดความยุ่งยากในส่วนนี้จึงพยายาม ทำเทคโนโลยีที่เรียกว่า "Jumper Less" คือมี Jumper ให้น้อยที่สุดหรือ ไม่มีเลย แล้วย้ายการเซ็ตค่าต่าง ๆ ไปเป็นส่วน Software หรือบน Bios ที่เรียกว่า "Soft Menu" เพื่อให้ผู้ใช้งานยังคงสามารถปรับแต่งค่าต่าง ๆ ได้ จากเดิมที่รูปร่างหน้าตาของ Jumper เป็นขาทองแดงแล้วใช้พลาสติกเล็ก ๆ ซึ่งข้างในมีแผ่นโลหะเป็นตัวเชื่อม เมนบอร์ดบางรุ่นก็เปลี่ยนมาเป็น Dip Switch ที่ปรับแต่งได้ง่ายกว่า สะดวกกว่า และดูไม่น่ากลัวแทน วิธีการเซ็ต Jumper ส่วนใหญ่จะเป็นการเชื่อมขาทองแดงเข้าด้วยกัน ซึ่งต้องอาศัยตัวเชื่อมที่เป็นลักษณะพลาสติกตัวเล็ก ๆ ที่ข้างในจะเป็นทองแดง เป็นสื่อให้ขาทองแดงทั้งสองเชื่อมถึงกัน และพลาสติกรอบข้างทำหน้าที่เป็น ชนวนป้องกันไม่ให้ทองแดงไปโดนขาอื่น ๆ

ส่วนวิธีการเซ็ต Dip Switch ก็ง่าย ๆ ให้เรานึกถึง Switch ไฟธรรมดาที่มีการปิดและเปิด ซึ่งจริง ๆ แล้วทั้ง Jumper และ Dip Switch นั้นต่างมีจุดมุ่งหมายเหมือนกันตรงที่ทำงานเปรียบเสมือน Switch ธรรมดา มีสภาวะเปิดและปิด (Open and Close) เพื่อให้การเชื่อมและตัดวงจรนั้นเป็นตัวบอกให้เมนบอร์ด รู้ว่าเราต้องการให้ทำงานอย่างไร

ตัวอย่าง Dip Switch บนเมนบอร์ด
อันที่จริงแล้วเวลาเราจะเช็ท Jumper หรือ Dip Switch เราจำเป็นต้องอ่านคู่มือเมนบอร์ดให้ดี ๆ ก่อน เพื่อที่จะได้รู้ว่าเรากำลังจะเซ็ตอะไร เซ็ตตรงไหน อย่างไร และได้ค่าอะไรนะครับ ภาพด้านข้างนี้เป็นตัวอย่าง Layout ของเมนบอร์ดของ Soltek SL-75JV บนเมนบอร์ดที่สำคัญ ๆ หลัก ๆ ที่เราต้องเซ็ตก็คือเรื่องของ FSB (Font Side Bus) และ Multiple ของ CPU เพื่อให้เมนบอร์ดทำงานสอดคล้องกับ CPU ที่เรานำมาติดตั้ง จากตัวอย่างทั้งสองส่วนนี้เป็นการเซ็ตแบบ DIP Switch ซึ่ง SW1 เป็นการเซ็ต FSB (Font Side Bus) และ SW2 เป็นการเซ็ต Multiple (ตัวคูณ) ตามคู่มือเมนบอร์ดเป็นดังตารางที่ 1 และ 2 เมนบอร์ดที่นำมาเป็นตัวอย่างนี้รองรับการทำงาน CPU ตระกูล AMD เพราะฉะนั้นหากผมต้องการนำเอา CPU Athlon Thunderbird ความเร็ว 850 MHz มาติดตั้งบนเมนบอร์ดรุ่นนี้ผมต้องเซ็ต SW1 CPU Clock = 100 MHz ซึ่งต้องปรับ DIP 1-5 บน SW1 เป็น Off On Off Off On ตามลำดับ ส่วน SW2 ต้องเลือก Multiple 8.5x เพราะฉะนั้นต้องเซ็ต DIP 1-4 บน SW2 เป็น Off Off On Off

มีการเซ็ต Jumper หนึ่ง ที่เราน่าจะรู้ไว้ว่าอยู่ตรงส่วนไหนของเมนบอร์ด คือ การ Clear CMOS Data เอาไว้เวลาที่เรา Update CMOS Version ใหม่ ๆ หรือว่าหากเกิดปัญหาจากการที่เราเข้าไป Set ค่าต่าง ๆ ใน BIOS แล้วทำให้ BOOT ไม่ได้ เราจะได้ใช้ Jumper Clear CMOS DATA ทำการ Clear ค่าต่าง ๆ ใน BIOS ให้กลับไปอยู่ในสภาวะเริ่มต้นเหมือนค่าที่ถูกเซ็ตจากโรงงานนะครับ สำหรับเมนบอร์ดรุ่นนี้ตัว Jumper นี้จะอยู่ที่ JBAT1 สภาวะปกติตัว Jumper จะเชื่อมอยู่ที่ขา 1-2 หากเราต้องการ Clear CMOS Data เราต้องย้าย Jumper มาที่ 2-3 แต่อย่าลืมนะครับว่าต้องทำการย้าย Jumper ขณะปิดเครื่อง และตามคู่มือบอกว่าแค่เราย้ายมาก็จะ Clear CMOS แล้วไม่ต้องเปิดเครื่อง จากนั้นทำการย้ายกลับไปยัง 1-2 แล้วทำงานตามปกติ

Jumper บน Hard Drive และ CD-Rom Drive
หน้าที่หลัก ๆ ของ Jumper ใน Hard drive และ CD-Rom Drive ก็คือการเซ็ตว่า Drive นั้นเป็น Master หรือ Slave หลาย ๆ คนอาจจะเริ่มงงว่าอะไร Master อะไร Slave จะขออธิบายคร่าว ๆ ดังนี้นะครับว่าปัจจุบัน Drive จำพวก Hard Drive และ CD-Rom Drive นั้นจะมีมาตรฐานการต่อแบบ IDE ซึ่งบนเมนบอร์ดส่วนใหญ่จะมีช่องต่อ IDE สองช่องซึ่งเรียกว่า Primary และ Secondary แต่ละช่องก็จะต่อ Drive ได้ 2 Drive นั้นหมายความว่าเครื่องโดยทั่วไปจะสามารถใส่ Hard drive และ CD-Rom Drive รวมกัน 4 ตัว เนื่องจาก 1 ช่อง IDE สามารถต่ออุปกรณ์ได้ 2 ตัวนี้แหละครับที่ทำให้เราต้องมานั่งเซ็ตว่าจะให้ตัวไหนเป็น Master ตัวไหนเป็น Slave แต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อก็กำหนดต่างกันออกไป แต่อย่างไรก็ตามเราก็ยังสามารถ ใช้พื้นฐานความรู้ในการเซ็ตเดียวกันได้ สำหรับฮาร์ดดิสก์และไดรฟ์ CD-Rom นั้น ผู้ผลิตมักจะระบุการเซ็ตค่ามาให้ บนตัวมันเอง ใกล้ ๆ กับจุดที่เซ็ตอยู่แล้ว และการดูก็ไม่ยากเท่าไหร่ เพียงแต่ท่านต้อง เข้าใจคำว่า Master กับ Slave เท่านั้น ส่วนค่าอื่น ๆ ที่เห็น เช่น Cable Select นั้น จะเป็นการใช้งานแบบพิเศษกับ สายเคเบิ้ล จะเกิดอะไรหากเราเซ็ตไม่ถูกต้อง หรือเซ็ตอุปกรณ์ 2 ตัวมาชนกันเอง คำตอบคืออุปกรณ์ไม่ถึงกับเสียหายหรอกครับ แค่เครื่องของเราก็จะมองไม่เห็นว่า เราได้ติดตั้งตัว Drive นั้นไปแล้วเท่านั้นเอง พอเราเซ็ตใหม่ให้ถูกต้องทุกอย่างก็จะ กลับมาเป็นเหมือนเดิมครับ ไม่ต้องกลัวกับการเซ็ต Jumper พวกนี้นะครับ

สรุป เรื่องราวของ Jumper ที่จริงก็คือ ส่วนที่ช่วยให้อุปกรณ์ต่าง ๆ ทำงานได้หลากหลายหน้าที่ ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ ในเมนบอร์ดส่วนใหญ่จะเป็นการเซ็ตว่าขณะนี้ต้องการนำเอา CPU อะไรมาติดตั้ง จะให้ Disable/Enable ความสามารถต่าง ๆ ในเมนบอร์ดไม่ว่าจะเป็น Sound On Board, Vga On Board หรือจะเป็นการ Clear CMOS Data ส่วนใน Drive ชนิดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Hard drive , CD-ROM Drive จะเป็นการกำหนดบทบาทหน้าที่ ส่วนในอุปกรณ์อื่น ๆ นั้น เราอาจจะเห็นการเซ็ต Jumper ได้ใน Card Interface บางประเภท

ทั้งนี้ทั้งนั้นการเซ็ตค่าต่าง ๆ ต้องอาศัยคู่มือประกอบ เพราะว่าแต่ละอุปกรณ์ แต่ละโรงงานก็จะออกแบบมาไม่เหมือนกัน เซ็ตผิดพลาดก็อาจจะทำให้อุปกรณ์นั้นใช้งานไม่ได้ แต่โดยส่วนตัวแล้วคิดว่าไม่น่าจะทำให้ถึงกับเสียหายอะไร เพราะทางโรงงานผู้ผลิตต้องเผื่อเหตุการณ์นี้ไว้อยู่แล้ว ขอให้เซ็ตให้ถูกต้องอุปกรณ์ก็น่าจะใช้งานได้ ดังนั้น ไม่ต้องกลัวนะครับของอย่างนี้ ถ้าเราอ่านคู่มือเข้าใจดีแล้วก็ลุยเลยครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Delicious/tag/computer

YouTube :: Tag // computer

Recent Uploads tagged computer


 

Original Blogger Template | Modified by Blogger-Whore | Distributed by eBlog Templates