เรื่องของ 2X และ 4X นะครับ
อ่านนะ เอามาเท่านี้ก่อนนะ
GA card แบบ AGP
===============
AGP ย่อมาจาก Accelerated Graphics Port พัฒนาโดย
Intel โดยอ้างอิงอยู่กับมาตรฐาน PCI 2.1 จึงมีแบนด์วิดท์อยู่ที่
66 MHz. จุดประสงค์ของ AGP ก็เพื่อเพิ่มความเร็วในการแสดง
ผลโดยเฉพาะกับวัตถุ 3 มิติและการทำพื้นผิวที่เรียกว่า texture
ทำให้การแสดงผลภาพวิดิโอที่ละเอียดและราบรื่นมากขึ้น
สำหรับการพัฒนา AGP โดยอินเทลเริ่มใช้ตั้งแต่ยุคของ Slot-1 และ
Pentium II ในปัจจุบันก็ยังมีใช้อยู่รวมทั้งบอร์ดของซ็อคเก็ต 7 ที่
เรียกว่า Super 7 ก็สนับสนุน AGP ด้วย AGP ยุคแรกเป็น AGP
แบบ 1X ต่อมา 2X และที่สูงสุดตอนนี้คือแบบ 4X ทีมีในเมนบอร์ด
ที่ใช้ชิพเซ็ตรุ่นใหม่ ๆ
การสร้างภาพ 3 มิติจะมีส่วนประกอบที่สำคัญ 2 ส่วนคือ การสร้างวัตถุ
3 มิติและการทำพื้นผิว โดยทั่วไปหน้าที่การสร้างวัตถุ 3 มิติจะเป็นหน้าที่
ของซีพียูเนื่องจากซีพียูสามารถคำนวณเลขทศนิยมได้จำนวนมาก ๆ ได้
ดีกว่าชิพแสดงผล ส่วนชิพแสดงผลที่อยู่ในการ์ดวีจีเอจะจัดการทางด้าน
การทำพื้นผิวและแสงเงาต่าง ๆ ถ้ายิ่งมีการใช้พื้นผิวขนาดใหญ่ จำนวนบิต
สีมาก ๆ แล้วจะต้องมีการโอนถ่ายข้อมุลจำนวนมากมายและต่อเนื่องเช่นเกมส์
ประเภท 3 มิติ การเล่นเกมส์ให้ได้ความเร็วสูง ๆ แอพพลิเคชั่นทางธุรกิจ
วิศวกรรมโยธา แอนิเมชั่นต่าง ๆ นี่ก็ต้องการแรมมมาก ๆ นะครับ อย่าคิดว่า
เราไม่ได้ทำงานพวกนั้นนะครับก็อาจจะเป็นการเรียนหรือเอามาศึกษาครับ
โปรแกรมที่ต้องการการประมวลผลที่ต้องการความเร็วนี่หากมีหน่วยความจำ
มาก ๆ นี่ก็จะช่วยให้ความสามารถทางด้าน 3 มิติดีและเร็วครับ ไม่ต้องมามัว
นั่งคอยทรมานอยู่นะครับ เช่น หากมีงานพรีเซนเตชั่นที่ต้องการให้เห็นสินค้า
หรืออุปกรณ์ที่ต้องการเห็นในหลายมุมมองหรือที่ใกล้ ๆ ก็พวกชาร์ตของ
เอ็กเซลที่แสดงผลแบบแอนิเมชั่นนะครับที่ขนาดใหญ่ ๆ นั้นต้องการหน่วย
ความจำในการแสดงผลมากทีเดียวครับ การเพิ่มแรมบนการ์ดแสดงผลนั้น
เป็นการแก้ปัญหาที่มีราคาแพงเพราะต้อนทุนในการผลิตแรมที่มีราคาสูง ถือว่า
เป็นการสิ้นเปลือง การ์ดแบบ AGP ออกแบบมาเพื่อเป็นการแก้ปัญหานี้โดยจะ
มีช่องทางที่สร้างขึ้นมาโดยเฉพาะ ไม่ขึ้นอยู่กับบัสใด ๆ มีการจัดการเป็นของตน
เอง ช่องทางที่สร้างขึ้นนี้จะทำการติดต่อระหว่าง System Memory หรือแรม
ที่อยู่บนเมนบอร์ดติดต่อกับ Graphic Chip เพื่อเพิ่มความเร็วในการถ่ายข้อมูล
และดึงเอาส่วนที่ว่างของ System Memory มาใช้ในการประมวลผลของ
Texture ขนาดใหญ่ช่องทางนี้คือ AGP ทำให้ลดการใช้แรมจำนวนมากบนตัวการ์ด
การ์ดวีจีเอแบบ AGP คุณสมบัติของการ์ด AGP คือ DIME หรือ Direct Memory
Excecute การประมวลผลผ่านหน่วยความจำของระบบหรือแรมโดยตรง
เสมือนว่าเป็นหน่วยความจำของตนเอง ทำให้ไม่จำเป็นต้องมีแรมบนตัวการ์ดแสดงผล
ที่มากมาย
ความจำหลักนั้นจะส่งผลให้มีการส่งผ่านข้อมูลของการ์ดวีจีเอมี
ความรวดเร็วขึ้น การส่งผ่านข้อมูลของหน่วยความจำหลักจะขึ้น
กับชนิดของหน่วยความจำดังนี้ครับ
1. แบบ EDO DRAM.SDRAM จะได้ 528 MB/S
2. แบบ SDRAM PC100 จะได้ 800 MB/S
3. แบบ DRDRAM จะได้ 1.4 GB/S
ดังนั้นการที่จะได้ความเร็วของการส่งผ่านข้อมูลของ AGP กี่ X นั้น
ก็ต้องขึ้นกับชนิดของหน่วยความจำหลักด้วยครับ เช่น คุณใช้เมนบอร์ด
ที่รองรับ AGP4X แต่ใช้ SDram ก็ไม่ได้ใช้ความสามารถถึง 4X หรอกครับ
เพราะแรมมีความไวไม่ถึงครับ
เข้าใจเรื่องกี่ X ของ AGP
=================
เมื่อมีการเรียกใช้ข้อมูลพื้นผิว ข้อมูลพื้นผิวจะถูกอ่านจากอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลเช่น
ฮาร์ดดิสก์หรือซีดีรอมเอาไปเก็บไว้ใน System Memory จากนั้น Graphic Chip
จะประมวลผล Texture จาก System Memory ผ่านทางพอร์ต AGP เมื่อได้ผลลัพธ์
แล้วจะส่งมายังบัฟเฟอร์ซึ่งก็คือ Local Video Memory เพื่อนำมาแปลงเป็นสัญญาณ
ภาพแสดงที่มอนิเตอร์อีกทีหนึ่ง
AGP มีความกว้างของบัสเท่ากับ 32 บิตเหมือนกับ PCI แต่แตกต่างตรงกับที่มันวิ่งที่
ความเร็วเท่ากับความเร็วของ FSB ซึ่งต่างกับ PCI ที่วิ่งด้วยความเร็วครึ่งหนึ่งของ FSB
หากเป็นบัสความไว 66 MHz. ก็จะปรับค่าสัดส่วน AGP เป็น 1/1 บนบัสความไว 100 MHz.
จะปรับค่าสัดส่วน AGP เป็น 2/3 ส่วนเมนบอร์ดรุ่นใหม่ที่ใช้บัว 133 MHz. ก็จะปรับค่า
สัดส่วน AGP เป็น 1/2 ทำให้การโอนถ่ายข้อมูลของ AGP มีมากกว่า PCI ถึง 2 เท่า นอก
จากนั้น AGP ยังสามารถส่งข้อมูลได้ถึง 2 ครั้งต่อ 1 รอบสัญญาณนาฬิกาโดยจะทำการส่ง
ข้อมูลทั้งขอบขาขึ้นและขาลงของสัญญาณนาฬิกา ทำให้มีการโอนถ่ายข้อมูลมากกว่า PCI
ถึง 4 เท่าหรือ ประมาณ 528 MB./s และเนื่องจาก AGP เป็นบัสแบบ pipeline ซึ่งทำให้
ชิพวีจีเอสามารถประมวลและโอนถ่ายข้อมูลข้อมูลเป็นได้อย่างเต็มที่ อีกทั้ง AGP ยังได้เพิ่มบัส
พิเศษอีก 8 เส้นเรียกว่า Sideband Addressing สำหรับให้ชิพวีจีเอประมวลผลคำสั่ง
พร้อมกับส่งข้อมูลผ่านทางเมนบัส 32 เส้นได้
computer - Google Blog Search
AdSense for search
computer - Twitter Search
16.3.52
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น